ที่มาของตารางราคารังไหม



ในการกำหนดราคารังไหมในตารางมาตรฐาน ราคารังไหมที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นได้มาสจากสูตรคำนวณราคารังไหมสดต่อกิโลกรัม คือ

สูตร ราคารังไหมสดต่อกิโลกรัม = [ราคาเส้นไหมยืน X (สัดส่วนแบ่งของเกษตรกร /100) X (เปอร์เซนต์การสาว / 100) 100 100 X (เปอร์เซนต์เปลือกรัง / 100 ) X (เปอร์เซนต์รังดี /100 ) ] + [ 150 X (12.42/100) X (เปอร์เซนต์รังเสีย / 100)]

ขยายความในสูตร

  • ราคาเส้นไหมยืน หมายถึง ราคาเส้นไหมยืนที่มีการซื้อขายกันใน ตลาด ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ตลาดเส้นไหม
  • สัดส่วนแบ่งของเกษตรกร หมายถึง สัดส่วนที่มีการกำหนดว่าส่วนแบ่ง ของราคาเส้นไหมยืนระหว่างเกษตรกรและโรงงานสาวไหมจะเป็นสัดส่วนเท่าไร ในปัจจุบันสัดส่วนของเกษตรกร : โรงงานเท่ากับ 58 : 42
  • เปอร์เซนต์การสาวได้ หมายถึง เปอร์เซนต์การสาวเส้นไหมได้จาก เปลือกรังใช้ตัวเลข 73 %
  • เปอร์เซนต์เปลือกรัง หมายถึง ตัวเลขที่ได้จากการคำนวณในสูตร การหาเปอร์เซนต์เปลือกรัง จะเปลี่ยนแปลงไปตามคุณภาพรังไหมที่เกษตรกร เลี้ยงได้
  • เปอร์เซนต์รังดีรังเสีย หมายถึง ตัวเลขที่ได้จากการคำนวณในสูตร การหาเปอร์เซนต์รังดีรังเสีย จะเป็นไปตามคุณภาพรังไหมที่เกษตรกรเลี้ยงได้
  • 150 หมายถึง ค่าของรังไหมเสีย (ซึ่งมีปะปนมากับรังไหมที่เกษตรกร นำมาจำหน่าย) เป็นตัวเลขคงที่
  • 12.42 หมายถึง เปอร์เซนต์การสาวเส้นไหมได้จากรังเสีย
  • ตัวอย่าง เกษตรกรเลี้ยงไหมนำรังไหมไปจำหน่ายได้เปอร์เซนต์เปลือกรังเท่ากับ 23, เปอร์เซนต์รังเสียเท่ากับ 6, ราคาเส้นไหมยืนกิโลกรัมละ 1,060 บาท แทนค่าในสูตร ราคารังไหมสดต่อกิโลกรัม .

    = [ 1,060 X (58/100) X (73/100) X (23/100) X ( 94/100) ] + [ 150 X (12.42/100) X ( 6/100) ]
    = 97.0314 + 1 .1178
    = 98.1492 บาท/กิโลกรัม

    ดังนั้น ราคารังไหมสดต่อกิโลกรัม = 98.15 บาท

    ในการคิดคำนวณราคารังไหมดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าตัวเลขที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ คือ ตัวเ ลขของเปอร์เซนต์การสาวได้จาก เปลือกรัง คือ 73 และตัวเลขของเปอร์เซนต์การสาวเส้นไหมได้จากรังเสีย คือ 12.42 หากผลการวิจัยในด้านการสาวไหมจากรังไหมที่เกษตรกรเลี้ยงได้คุณภาพ รังไหมสูงขึ้น