วิธีการเลี้ยงปูทะเลที่นิยมทำกันมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่

1. เลี้ยงโดยวิธีขุน

วิธีขุนปู หรือการขุนปูทะเล หมายถึงการนำปูที่มีขนาดตั้งแต่ 1-4 ตัว/กก. ขณะที่ยังเป็นปูโพรก (ปูที่เนื้อไม่แน่นยังมีปริมาณน้ำอยู่ในเนื้อมาก) และปูเพศเมียที่มีไข่อ่อนมาขุนเลี้ยงเป็นระยะเวลาประมาณ 20-30 วัน ก็จะได้ปูเนื้อแน่นและปูไข่แก่ ซึ่งเป็นที่ต้องการบริโภคตลาด โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

ก.การเลือกทำเล
หลักในการพิจารณาการเลือกทำเลขุนปูทะเล มีดังนี้
(1) อยู่ใกล้แหล่งน้ำกร่อย (ความเค็ม 10-30 pptใ)
(2) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลงของน้ำทะเล โดยที่น้ำไม่ท่วมบ่อขณะเมื่อน้ำทะเลมีระดับสูงสุด และสามารถระบายน้ำได้แห้ง เมื่อน้ำลงต่ำสุด
(3) มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการคมนาคมสะดวก
(4) สภาพดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย สามารถเก็บกักน้ำได้ดี
(5) เป็นแหล่งที่สามารถจัดหาพันธุ์ปูทะเลได้สะดวก
(6) เป็นบริเวณที่ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ และมลภาวะ

ข. การสร้างบ่อ บ่อที่นิยมเลี้ยงปูทะเลโดยทั่วไปเป็นบ่อดิน ซึ่งมีหลักการสร้างบ่อ ดังนี
(1) ควรมีพื้นที่ประมาณ 200-600 ตารางเมตร
(2) ขุดร่องรอบบ่อลึกประมาณ 80 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เมตร (เพื่อความสะดวกในการจับปู) ความลึกของบ่อประมาณ 1.5-1.8 เมตร
(3) ประตูน้ำมีประตูเดียว (ทำเหมือนประตูนากุ้ง) (ภาพที่ 4) หรือฝังท่อเอสลอนเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 นิ้ว ท่อเดียวโดยใช้ฝาเปิด, ปิดก็ได้ ซึ่งใช้เป็นทางระบายน้ำเข้า-ออก ทางเดียวกัน
(4) บริเวณคันบ่อและประตูน้ำใช้ไม้ไผ่ผ่าซีก อวนมุ้งเขียว หรือแผ่นกระเบื้องปักกั้นโดยรอบ เพื่อป้องกันการหลบหนีของปู โดยสูงจากขอบบ่อและประตูประมาณ 0.5 เมตร (ภาพที่ 5)
(5) ใช้ตระแกรงไม้ไผ่ ขนาดกว้างของซีกไม้ 1-1.5 นิ้ว ห่างกันไม่เกินซี่ละ 1 เซนติเมตร กั้นตรงประตูระบายน้ำ (ภาพที่ 6)

ค. การเตรียมบ่อและการจัดการบ่อ
(1) ถ้าเป็นบ่อใหม่ควรทำความสะอาดบริเวณรอบบ่อ กำจัดวัชพืช ลอกเลนก้นบ่อถมรอยรั่วตามคันบ่อ แล้วโรยปูนขาวในบริเวณประมาณ 60 กก./ไร่ ให้ทั่วพื้นเพื่อฆ่าเชื้อโรค
(2) กักเก็บน้ำในบ่อ ลึกประมาณ 1 เมตร
(3) ถ่ายเปลี่ยนน้ำทุกวันที่สามารถกระทำได้ (ในปริมาณ 3/4 หรือแห้งบ่อ)

ง.การรวบรวมพันธุ์
ผู้เลี้ยงจะซื้อพันธุ์จากแพค้าสัตว์ซึ่งรับซื้อปูมาจากชาวประมง โดยที่ปูเหล่านี้ถูกชาวประมงจับมาด้วยเครื่องมือหลายชนิด เช่น อวนลอยปู แร้วปู ลอบปู หน่วงปู ตะขอเกี่ยวปู โดยที่ปูโพรกจะมีขนาดประมาณ 1-4 ตัว/กก. และปูไข่อ่อนมีขนาดประมาณ 1-3 ตัว/กก. ซึ่งในการพิจารณาเลือกปูนั้น ควรจะเป็นปูที่มีระยางค์สมบูรณ์อย่างน้อยมีก้าม 1 ก้าม เนื่องจากปูที่ไม่มีก้าม ถึงแม้จะมีไข่แก่ก็มีราคาต่ำ

จ. การปล่อย และการจัดการด้านอาหาร
การปล่อยปูลงขุนในบ่อ โดยทั่วไปนิยมปล่อยปูด้วยอัตราความหนาแน่นประมาณ 2-3 ตัว/ตรม. โดยก่อนที่จะปล่อยปูลงในบ่อเลี้ยงจะใช้น้ำในบ่อรดตัวปูให้ชุ่ม เพื่อให้ปูปรับสภาพร่างกายให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในบ่อ จากนั้นจึงตัดเชือกมัดปูออกปล่อยให้ปูคลานในบ่อ
ขณะเลี้ยงมีการดูแลและเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน ซึ่งบ่อเลี้ยงปูจะสร้างในที่ที่สามารถเปิดให้น้ำทะเลไหลเข้าออกได้โดยตรงในขณะน้ำขึ้น และในการระบายน้ำจะระบายในช่วงน้ำลงจนเกือบแห้งบ่อเหลือประมาณ 10 เซนติเมตร (เพื่อให้ปูฝังตัวหลบความร้อนและศัตรูได้) ระดับน้ำในบ่อมีความลึกประมาณ 1 เมตรตลอดระยะเวลาเลี้ยง ผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นดูแลแนวรั้วกั้นรอบบ่อและตะแกรงประตูน้ำให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการหลบหนีของปู
การให้อาหารนั้น จะให้อาหารสดวันละครั้งในตอนเย็น หรือหลังกักเก็บน้ำเต็มบ่อโดยสาดให้ทั่วบ่อ หรือสาดใส่ในถาดอาหารที่วางไว้รอบบ่อ ซึ่งอาหารที่นิยมเลี้ยงปูมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ปลาเป็ด และหอยกะพง โดยต้องรู้จักหลักการจัดการเรื่องอาหารดังนี้
(1) ปลาเป็ด หาซื้อได้จากแพปลา ซึ่งเป็นปลาเบญจพรรณสด นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1-2 นิ้ว อัตราการให้ประมาณ 7-10% ของน้ำหนักปู หรือโดยเฉลี่ยจะให้ปลาเป็ด 1 ชิ้น ต่อปู 1 ตัว สำหรับปลาเป็ดสามารถเก็บไว้เผื่อวันต่อไปได้ โดยหมักเกลือเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิดเช่น ถังพลาสติก โอ่ง เป็นต้น โดยใช้เกลือประมาณ 10% ของน้ำหนักปลาเป็ด
(2) หอยกะพง หาซื้อได้จากชาวประมง โดยจะให้หอยกะพงประมาณ 40% ของน้ำหนักปู แต่ทั้งนี้ควรจะทำความสะอาดก่นอนำมาให้เป็นอาหารปู
สำหรับการขุนเลี้ยงปูโพรก ให้กลายเป็นปูเนื้อแน่น และปูไข่แก่นั้นใช้ระยะเวลาประมาณ 25-35 วัน

ฉ. การเก็บเกี่ยวผลผลิต
เมื่อขุนปูทะเลจนได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการแล้ว ผู้เลี้ยงจะทำการจับปูทะเลโดยมีวิธี่การจับดังนี้
(1) การตักปูเล่นน้ำ วันที่จับปูทะเลเป็นวันที่ระดับน้ำทะเลขึ้น-ลงสูง เพราะสามารถระบายน้ำได้หมดบ่อและสะดวกต่อการจับ ผู้เลี้ยงจะระบายน้ำจนแห้งบ่อ แล้วเปิดน้ำเข้าในช่วงน้ำขึ้น ปูจะมารับน้ำใหม่บริเวณตระแกรงหน้าประตูน้ำ จากนั้นใช้สวิงด้ามยาว (ภาพที่ 7) ตักปูขึ้นมาพักในถัง แล้วจึงใช้เชือกมัด (ภาพที่ 8) วิธีนี้เป็นการจับปูในวันแรก ๆ ของการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อลดปริมาณปูในบ่อ แม้ว่าวิธีการนี้จะไม่สามารถจับปูได้หมดบ่อแต่จะลดความเสียหายจากการบอบช้ำของปูได้เป็นอย่างดี

(2) การจับน้ำแห้ง หรือคราดปู โดยการระบายน้ำให้หมดบ่อแล้วใช้คนลงไปคราดปูด้วยคราดเหล็ก (ภาพที่ 9) แล้วลำเลียงปูขึ้นจากบ่อด้วยสวิงด้ามสั้น (ภาพที่ 10) เพื่อมาพักจากนั้นจึงล้างให้สะอาดก่อนการมัด

(3) การเกี่ยวปูในรู (ต่อเนื่องจากการใช้คราดปู) เมื่อคราดปูบริเวณพื้นลานบ่อหมดแล้วจะเหลือปูในรู ต้องใช้ตะขอเกี่ยวปูใส่สวิงแล้วจึงนำไปมัดด้วยเชือก
ผลผลิตที่ได้จากการขุนปูทะเลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประมาณ โดยเฉพาะในเรื่องการดูแลเอาใจใส่ ทั้งในเรื่องการให้อาหาร คุณภาพน้ำ และสภาพบ่อ เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะให้ผลผลิตประมาณ 80-95%

ช.ต้นทุนและผลตอบแทนของการขุนปูทะเล
ตารางที่ 3 เป็นตัวอย่างต้นทุน และผลตอบแทนของการขุนปูทะเลที่ จ.สุราษฎร์ธานีในบ่อขนาด 369 ตารางเมตร ใช้เวลาเลี้ยง 24 วัน ตามตารางที่ 3 และ 4 ดังนี้

ตารางที่ 3 ต้นทุนการขุนปูทะเลต่อฟาร์มต่อรอบ
  บาท/ฟาร์ม บาท/กก.</th> ร้อยละของ
ต้นทุนทั้งหมด
1. ต้นทุนผันแปร   
ค่าพันธุ์ปู
ค่าอาหาร
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
ค่าจ้างแรงงาน
ค่าเชือกมัดปู
ค่าภาชนะบรรจุ
ค่าซ่อมเครื่องมืออุปกรณ์
ค่าลอกเลน, ซ่อมแซมบ่อ
ค่าขนส่ง
เบ็ดเตล็ด
รวมต้นทุนผันแปร
11,492.50
1,935.10
18.90
906.00
52.60
75.79
25.00
200.80
289.00
67.00
15,062.69
49.87
8.40
3.93
3.93
0.23
0.33
0.11
0.87
1.25
0.29
69.21
57.24
9.64
0.09
4.51
0.27
0.38
0.12
1.00
1.44
0.33
75.02
2. ต้นทุนคงที่   
ค่าเสื่อมราคาของบ่อและรั่ว
ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์
ค่าใช้ที่ดิน
รวมต้นทุนผันแปร
464.35
105.80
453.12
1,023.27
2.02
0.64
1.97
4.45
2.31
0.53
2.26
5.10
3. ต้นทุนค่าเสียโอกาสการใช้ปัจจัยการผลิตของตนเอง   
แรงงานครัวเรือน
ดอกเบี้ยลงทุนในต้นทุนผันแปร
ดอกเบี้ยลงทุนในต้นทุนคงที่
รวมต้นทุนค่าเสียโอกาสทั้งหมด
2,674.00
1,244.49
71.78
3,990.27
11.60
5.40
0.31
17.31
13.32
6.20
0.36
19.88
รวมต้นทุนทั้งหมด 20,076.23 90.97 100.00


ตารางที่ 4 ผลผลิตและผลตอบแทนของฟาร์มต่อรอบการขุนปูทะเล
 เฉลี่ยต่อฟาร์มเฉลี่ยต่อกิโลกรัม
ผลผลิต (กก.)
รายได้ทั้งหมด (บาท)
ผลตอบแทน (บาท)
กำไรดำเนินการ
รายได้สุทธิ
ผลตอบแทนต่อเงินทุนและการจัดการ
กำไรสุทธิ
อัตราส่วนผลตอบแทน
กำไรสุทธิต่อต้นทุนผันแปร (%)
กำไรสุทธิต่อต้นทุนทั้งหมด (%)
กำไรสุทธิต่อรายได้ทั้งหมด (%)
230.44
24,339.00

9,276.31
8,253.04
1,588.777
4,262.777

23.30
21.23
17.51


105.62

40.25
35.81
6.89
18.50





2. การเลี้ยงโดยวิธีอนุบาลลูกปู


การเลี้ยงโดยวิธีอนุบาลลูปปูทะเล หมายถึง การนำปูขนาดเล็กที่มีน้ำหนักน้อย คือ ขนาดประมาณ 6-10 ตัว/กก. มาเลี้ยงในระยะเวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไปจนได้ปูขนาดใหญ่ (โดยการลอกคราบ) และมีเนื้อแน่นหรือปูไข่ก็ตามที่ตลาดต้องการ
ปัจจุบันการเลี้ยงปูทะเลโดยวิธีนี้ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงนานกว่า ทำให้ต้องใช้ความระมัดระวังเอาใจใส่ในการดูแลมาก โดยเฉพาะระยะที่ปูลอกคราบแต่ละครั้งจะมีการกินกันเอง อีกทั้งได้รับผลตอบแทนช้า ซึ่งย่อมส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีรายได้น้อย อย่างไรก็ตามได้มีรายงานการเลี้ยงปูทะเลโดยวิธีอนุบาลจากลูกปูขนาดเล็กของนักวิชาการประมง ซึ่งทำการทดลองไว้ในปี 2532 โดยได้นำปูทะเลขนาด 7-10 ตัว/กก. ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดินขนาด 638 ตารางเมตร ด้วยอัตราความหนาแน่น 1.7 ตัว/ตารางเมตร ให้ปลาเป็ดเป็นอาหารวันละ 2 มือ ๆ ละ 5% ของน้ำหนักตัว ใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 77 วัน ได้ผลผลิต (น้ำหนักที่จับคืนได้) ประมาณร้อยละ 55.28 ปูที่จับคืนได้มีขนาดความกว้างประดองและน้ำหนักเฉลี่ยในแต่ละตัวเพิ่มขึ้น 2.2 เซนติเมตร, 98.89 กรัม ในปูเพศเมีย และ 1.7 เซนติเมตร 138.449 กรัม ในปูเพศผู้ ซึ่งจากรายงานการทดลองนี้ได้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ โดยได้กำไรสุทธิเป็นเงิน 2,594 บาท
ผลทดลองเลี้ยงปูทะเล (ปูดำ) จากจังหวัดระนอง โดยนำปูตัวละ 50-155 กรัม มาปล่อยลงเลี้ยงในบ่อพื้นที่ 638 ตารางเมตร และ 800 ตารางเมตร โดยมีอัตราปล่อย 0.6 และ 0.8 ตัว ต่อตารางเมตร ตามลำดับ ให้หอยกะพงในปริมาณ 40% ของน้ำหนักตัว วันละครั้งในตอนเย็น ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 2 เดือน อัตราการจับคืน (จำนวนตัว) ร้อยละ 57.63 ได้ผลกำไร 547 บาท
การเลี้ยงปูทะเลยังมีลู่ทางที่น่าจะทำรายได้ หรือผลตอบแทนสูง หากมีการพัฒนาการเลี้ยง และเอาใจใส่อูแลให้มากขึ้น เนื่องจากปูเป็นสัตว์น้ำที่ปล่อยลงเลี้ยงได้อย่างต่อเนื่อง โดยเราสามารถคัดขนาดปูที่ต้องการขึ้นมาจำหน่ายได้ตลอดเวลาด้วย วิธีการจับปูเล่นน้ำ ซึ่งจากผลการทดลองดังกล่าวได้ขอเสนอแนะไว้ดังนี้คือ
1. ควรนำปูทะเลที่มีขนาดน้ำหนักตัวมากกว่า 120 กรัม หรือในระยะคราบที่ 15-16 ในตารางที่ 1 เนื่องจากเมื่อลอกคราบแล้วจะได้ปูตามขนาดที่ตลาดต้องการในเวลาที่ไม่มากนัก คือ ประมาณ 2 เดือน
2. ควรควบคุมปริมาณ และวิธีการให้อาหารที่เหมาะสม โดยนำอาหารใส่ในภาชนะรองรับที่วางกระจายไว้รอบบ่อ เพื่อป้องกันเศษอาหารที่เหลือเน่าเปื่อยหมักหมมก้นบ่อ อันจะเป็นสาเหตุให้ก้นบ่อเน่าเสีย เนื่องจากปูมักจะฝังตัวตามพื้นก้นบ่อ และนอกจากนี้ ควรตรวจสอบปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของปู โดยเพิ่มความถี่ในการให้อาหารให้มากขึ้น หรือลดปริมาณอาหารในช่วงที่มีการลอกคราบ เป็นต้น
3. หมั่นตรวจสอบการเจริญเติบโตอยู่เสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อคัดปูที่ได้คุณภาพตามต้องการขึ้นจำหน่าย และปล่อยปูลงเลี้ยงต่อไปได้อีกอย่างต่อเนื่อง
4. ศึกษาคุณภาพน้ำ และสภาพบ่อให้ดีอยู่เสมอ

ขั้นตอนในการดำเนินการเลี้ยงปูทะเล ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมบ่อ การจัดการบ่อและการเก็บเกี่ยวนั้น มีวิธีการเช่นเดียวกันกับการขุนปูทะเลดังได้กล่าวมาแล้ว