โรคตัวด่าง โรดแผลตามลำตัว โรคครีบ-หางกร่อน โรคท้องบวม
โรคเกล็ดตั้ง โรควัณโรคปลา


โรคตัวด่าง

ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีแผลด่างขาวตามลำตัว และถ้าเกิดโรคเป็นระยะเวลานาน แผลด่างขาวนี้จะกลายเป็นแผลลึกได้ โรคนี้มักเกิดกับปลาหลังจากการลำเลียง หรือขนส่งเพื่อนำไปเลี้ยงหรือในช่วงที่อุณหภูมิของอากาศมีการเปลี่ยนแปลงจาก สูงไปต่ำ เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคนี้จะเจริญได้ดีและทำอันตรายต่อปลา ปลาที่ ติดโรคนี้จะตายเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ปลาที่พบว่าเป็นโรคนี้อยู่เสมอ คือ ปลาดุก ช่อน บู่ และปลาสวยงามอีกหลายชนิด

การป้องกันและรักษา
วิธีที่ดีที่สุดที่ควรทำคือการปรับปรุงสภาพภายในบ่อ หรือที่เลี้ยงปลาให้ มีสภาพเหมาะสม เช่น การเพิ่มออกซิเจน การลดอินทรีย์สารในน้ำใหันัอยลง และ การเพิ่มอุณหภูมิของน้ำ
1. แช่ปลาในยาเหลืองในอัตราส่วน 2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 5 ลิตร นานประมาณ 30 นาที
2. ในขณะขนส่งลำเลียงปลา ควรใส่เกลือเม็ดลงในน้ำที่ใช้สำหรับการ ขนปลาในปริมาณ 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ลิตร
3. ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้เท่ากับน้ำใน บ่อก่อน
4. ใช้ด่างทับทิม จำนวน 1-3 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง เพื่อการรักษา
5. ใช้ฟอร์มาลิน จำนวน 40-50 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง

Go To Top


โรดแผลตามลำตัว

เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ในระยะเริ่มแรกจะทำให้ปลาที่มีเกล็ดเกล็ด หลุดออก ส่วนบริเวณรอบ ๆ เกล็ดที่หลุดออกนั้นจะตั้งขึ้น ถ้าเป็นปลาไม่มีเกล็ด บริเวณนั้นจะบวมขึ้นเละมีสีแดง ต่อมาผิวหนังจะเริ่มเปื่อยเป็นแผลลึกลงไปจนเห็น กล้ามเนื้อ โดยแผลที่เกิดจะกระจายทั่วตัวและเป็นสาเหตุให้ปลาติดโรคเชื้อราต่อ ไปได้ ปลาที่พบว่าเป็นโรคนี้ได้แก่ ปลาดุก บู่ ช่อน เป็นตัน

การปัองกันและรักษา
โรดนี้รักษาได้ยากมาก ในกรณีปลาตู้ควรแยกปลาที่เป็นโรคออกจากตู้ให้หมด
1. ใชัยาปฎิชีวนะจำพวกในโตรฟูราโชน ในอัตราส่วน 1 -2 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ปลานานประมาณ 2-3 วัน
2. แช่ปลาที่เป็นโรคในสารละลายออกซีเตตร้าชัยคลีน หรือเตตร้าชัยคลีน ในอัตราส่วน 10- 20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร นาน 1-2 วัน ติดต่อกัน 3 -4 ครั้ง
3. ถ้าเป็นปลาที่เลี้ยงในบ่อ และเริ่มมีอาการของโรค อาจผสมยาปฎิชีวนะ เหมือนดังกล่าวข้างต้นกับอาหาร ในอัตราส่วน 60- 70 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม หรือ 2-3 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้นานติดต่อกัน 3-5 วัน
4. การฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยง อาจทำได้โดยใช้ปูนขาว ในอัตรา 50-60 กิโลกรัม/ไร่

Go To Top


โรคครีบ-หางกร่อน

เป็นโรดที่พบกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาขนาดเล็ก เป็นโรค โดยจะเกิดตามบริเวณปลายครีบก่อนและค่อย ๆ ลามเข้าไปจนทำให้ดูเหมือนว่า ครีบมีขนาดเล็กลง ในบางครั้งครีบจะกร่อนไปจนหมเด ปลาที่พบว่าเป็นโรคนี้ ได้แก่ ปลาดุก ปลาเงิน ปลาทอง และปลาสวยงามอื่น ๆ อีกหลายชนิด

การปัองกันและรักษา
1. ใชัยาปฎิชีวนะจำพวกไนโตรฟูราโชน ในอัตราส่วน 1 -2 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานานประมาณ 2-3 วัน
2. การฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยง อาจทำได้โดยใช้ปูนขาว ในอัตรา 50-60 กิโลกรัม/ใร

Go To Top


โรคท้องบวม

เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย อาการของโรคนี้มี 2 แบบ คือแบบแรก จะเห็นส่วนท้องบวมมาก ส่วนอีกแบบหนึ่งนั้นผิวหนังจะเป็นรอยช้ำตกเลือด และ อาจจะเกิดเกล็ดตั้งขึ้นอีกด้วย ปลาที่มีรายงานว่าเป็นโรดนี้ได้แก่ ปลาดุก บู่ และ ปลาสวยงามหลายชนิด

การปัองกันและรักษา
1. แช่ปลาในยาปฎิชีวนะออกซีเตตร้าชัยคลิน หรือเตตร้าซัยดลินในอัตราส่วน 10-20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
2. การฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงปลาดวรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อหลังจากสูบน้ำออกแล้ว
3. ไม่ดวรเลี้ยงปลาในปริมาณที่แน่นจนเกินไป และควรให้อาหารอย่างเหมาะสม

Go To Top


โรคเกล็ดตั้ง

โรคนี้มักพบได้เสมอในพวกปลาสวยงาม อาการของโรคอาจพบเกล็ดตั้ง เป็นบางส่วนหรือเกล็ดตั้งตลอดทั้งตัว นอกจากนี้ยังพบลักษณะจุดแดงทั่วตัวโดย เฉพาะบริเวณครีบและลำตัว โรดเกล็ดตั้งที่พบในปลานี้อาจเกิดขื้นโดยเป็นผลสืบเนื่อง มาจากการเกิดโรดทัองบวมหรืออาจเป็นอาการของโรดโดยเฉพาะที่เกิดจากการ ติดเชื้อแบคทีเรีย

การปัองกันและรักษา
ยังไม่ทราบวิธีรักษาที่แน่นอน แต่ถ้าเกิดโรคนี้ขื้นมาในบ่อเลี้ยงควรรีบ แยกปลาที่เป็นโรคออกเสียเพราะโรคนี้สามารถระบาดติดต่อกันได้ง่ายโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อผิวหนังของปลาเกิดเป็นแผลขึ้น

Go To Top


โรควัณโรคปลา

เป็นโรดที่พบเสมอโดยเฉพาะกับปลาที่กินเนื้อเป็นอาหารทั้งที่เลี้ยงในตู้กระจก และในบ่อซึ่งได้แก่ ปลากัด เทวดา ออสกัา ปอมปาตัว และช่อนสาเหตุ ของโรคนี้มาจากเชื้อแบคทีเรีย ปลาบางชนิดอาจจะไม่แสดงอาการภายนอกให้เห็น แต่บางชนิดก็จะแสดงอาการต่าง ๆ ต่อไปนี้
ก. น้ำหนักลดลง
ข. ไม่กินอาหาร
ค. สีซีดลง
ง. เกล็ดหลุด ผิวหนังเป็นแผล ครีบเปื่อย
จ. ขากรรไกรหรือกระดูกสันหลังบิดเบี้ยวหรือผิดรูปไป
ฉ. ตาโปนหรือตาอาจจะหลุดออกมาได้
ช. ว่ายน้ำโดยหงายขึ้น บางทีก็ไปนอนอยู่ตามพื้น ตัวบิด หรือว่ายน้ำเปะปะโดยไม่มีทิศทางที่แน่นอน
ซ. เกิดจุดขาวตามอวัยวะภายใน

การปัองกันและรักษา
การรักษาโรคนี้ยังไม่มีวิธีที่ได้ผลแน่นอน สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดการระบาด ของโรคคือ
1 . ควรแยกปลาที่เป็นโรคนี้ออก และทำลายให้หมดแล้วฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยง โดยการตากบ่อให้แห้งและสาดสารละลายด่างทับทิม (1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) ให้ทั่วบ่อ
2. สำหรับการป้องกันวัณโรคนั้น ต้อ mยามอm่ เลี้ยงปตจmน่นเคินไป ไม่ว่าจะเป็นลูกปลาหรือปลาใ ญ่ และจะต้องรักษาบ่อเลี้ยงให้สะอา อ ่เสมอ
3. โรคนี้อาจทำให้เกิดโรดวัณโรคที่ผิวหนังของคนได้ จึงควรหลีกเลี่ยง การสัมผัสปลาที่เป็นโรคโดยตรง

Go To Top