พยาธิใบไม้ที่ทำให้เกิดโรคปลานั้นพบทั้งขณะที่เป็นตัวเต็มวัยแล้วและตัวอ่อน
ตัวเต็มวัยของพยาธิใบไม้จะพบได้ในทางเดินอาหาร ภายในช่องท้อง ไม่ค่อยทำอันตราย
ต่อปลาเท่าใดนัก ต่างกับตัวอ่อนซื่งพบผังตัวอยู่บริเวณเหงือก และอวัยวะภายในต่าง ๆ
ทำให้เกิดความเสียหายกับเนื้อเยื่อของเหงือกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกปลา
ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการ กระพุ้งแก้มเปิดอ้าอยู่ตลอดเวลาว่ายน้ำ ทุรนทุราย ลอยตัวที่
ผิวน้ำ ผอม เหงือกบวมอาจมองเห็นจุดขาว ๆ คล้ายเม็ดสาดูขนาดเล็กเป็นไตแข็งบริเวณ
เหงือกได้ และปลาจะทยอยตายเรื่อย ๆ ปลาหลายชนิดในแหล่งน้ำธรรมชาติอาจพบพยาธิ
ใบไม้เต็มวัยได้ ส่วนพยาธิใบไม้ตัวอ่อนพบมากในปลาจีน ดุก นิล สวาย และปลาสวย
งามอีกหลายชนิดที่เลี้ยงในบ่อดินที่มีการใส่ปุ๋ยคอกเพื่อทำให้น้ำเขียว
การป้องกันและรักษา
1 . ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยคอก เพราะอาจจะมีไข่ของพยาธิใบไม้ติดมา
ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยคอก ควรตากให้แห้งเป็นอย่างดีก่อนใช้ และควรกำจัดหอย
ซึ่งจะเป็นตัวช่วยเสริมในการระบาดของพยาธิชนิดนี้ครบวงจร โดยการตากบ่อ
ให้แห้งและโรยปูนขาวให้ทั่วในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากจับปลาขึ้น
ขายแล้วทุกครั้ง
2. ยังไม่มีวิธีรักษาหรือกำจัดตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ ที่เกาะบนตัวปลา
Go To Top
โรคนี้มักพบกับปลาที่อยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือปลาที่