โรคจุดขาว โรคโอโอดีเนียม โรคจากพยาธิเห็บระฆัง โรคตกเลือดตามซอกเกล็ด
โรคพยาธิปลิงใส โรคเมือกขุ่น โรคจากเชื้อสปอร์โรซัว โรคหูดเม็ดข้าวสาร
โรคจากเชื้อรา โรคเท็บปลา โรคหนอนสมอ โรคหมัดปลา


โรคจุดขาว

ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีจุดสีขาวขุ่น ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดเล็ก ๆ กระจาย อยู่ทั่วลำตัวและครีบ สาเหตุของโรคนี้คือโปรโตซัว ชนิดที่กินเซลล์ผิวหนังเป็น อาหาร เมื่อพยาธิโตเต็มที่จะออกจากตัวปลาโดยจมตัวลงสู่บริเวณก้นบ่อปลา และ สร้างเกราะหุ้มตัว ต่อจากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อนจำนวนมากภายในเกราะ นั้น เมื่อสภาวะแวดล้อมภายนอกเหมาะสมเกราะหุ้มตัวจะแตกออกและตัวอ่อนของ พยาธิจะว่ายน้ำเข้าเกาะตามผิวหนังของปลาต่อไป พบโรคนี้กับปลาหลายชนิด เช่น ปลาสวาย ดุก ข่อน นิล หมู ทรงเครื่อง ฯล

การปัองกันและรักษา
ยังไม่มีวิธีกำจัดปรสิตที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนังที่ได้ผลเต็มที่ แต่วิธีการที่ควร ทำคือการทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้สารเคมี ดังต่อไปนี้
1. ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชม. สำหรบ ปลาขนาดใหญ่ หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชม.
2. หรือมาลาไค้ท์กรีน 1.0-1.25 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1/2 บม. สำหรับปลาขนาดใหญ่ หรือ 0.15 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชม. หรือ เมททิลีนบลู 1-2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ติดต่อกัน 7 วัน
3. หรือมาลาไค้ทกรีน และฟอร์มาลินในอัตราส่วน 0.15 กรัม และ 2์5 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชม. แช่ติดต่อกันประมาณ 7 วัน ควรเปลี่ยน น้ำใหม่ทุกวันและทำการแช่ยาวันเว้นวัน จนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น วิธีนี้จะให้ ผลดีมากโดยเฉพาะเมื่อน้ำมีอุณหภูมิประมาณ 28-30 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปรสิตชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ดังนั้นวิธีการป้องกันเป็นวิธีที่ดื่ที่สุด เพื่อไม่ให้ปลาที่นำมาเลี้ยงติดเชื้อมาด้วย ควรดำเนินการดังนี้
1. ก่อนที่จะนำปลามาเลี้ยง ควรนำมาขังไว้ในที่กักกันก่อน ประมาณ 7-10 วัน เพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อพยาธิติดมาหรือเปล่า เมื่อแน่ใจว่าไม่เป็นโรดแล้วจึง นำไปเลี้ยงต่อ
2. ป้องกันการลุกลามของโรดนื้โดยวิธีง่าย ๆ คือเมื่อปลาเป็นโรดดวร ย้ายปลาออกจากตู้แล้วนำไปรักษาในทื่อื่น ใส่ฟอร์มาลิน 100-150 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร ลงในตู้เดิมเพื่อกำจัดปรสิตใฑ้หมด แลัวจึงถ่ายน้ำทิ้งไป

Go To Top


โรคโอโอดีเนียม

ปลาที่เป็นโรคนี้จะว่ายน้ำทุรนทุราย บางครั้งพบว่ากระพุ้งแก้มเปิดอ้า มากกว่าปกดิอาจมีแผลตกเลือดหรือรอยด่างสีน้ำตาลหรือเหลืองคล้ายสีสนิมตามลำตัว ครีบตกหรือลู่ลง ปลาจะทยอยตายติดต่อกันทุกวัน ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่าง ถูกต้องปลาจะตายหมดบ่อ โรคนี้พบเกิดมากในลูกปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาดุก ทรงเครื่อง กาแดง ช่อน กราย เป็นต้น



การปัองกันและรักษา
1. แช่ปลาที่เป็นโรคนี้ด้วยฟอร์มาลิน จำนวน 30-40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชม. แลัวเปลี่ยนน้ำใหม่ ถ้าปลายังมีอาmรไม่ดีขื้นควรเปลื่ยนน้ำแล้วให้ยา ซ้ำอีก ปลาที่ป่วยควรจะมีอาการดีขี้นภายใน 3-4 วันในระหว่างการใช้ยาถ้ามี ปลาตายควรตักออกจากตู้ให้หมด
2. ใช้เกลือเม็ดจำนวน 5-10 กีโลกรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชม. ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดและขนาดของปลา ถ้าปลาขนาดเล็กควรใช้เกลือน้อยกว่าปลาขนาด ใหญ่ (ก่อนใช้โปรดอ่านข้อควรระวังในการใช้เกลือ)

Go To Top


โรคจากพยาธิเห็บระฆัง

โรคนี้จะทำให้ปลาเกิดอาmรระคายเคือง เนื่องจากพยาธิซึ่งเป็นปรสิตเซลล์ เดียวรูปร่างกลม ๆ มีแผ่นขอหนามอยู่กลางเซลล์จะเข้าไปเกาะอยู่ตามลำตัวและ เหงือก และมีการเคลื่อนทึ่ไปมาจากที่หนึ่งไปอีกที่หนื่งอยู่ตลอดเวลาทำให้ปลาเกิด เป็นแผลขนาดเล็กตามผิวตัวและเหงือก มักพบในลูกปลา ถ้าพบเป็นจำนวนมาก ก็ทำให้ปลาตายได้หมดบ่อหรือหมดตู้ ชนิดของปลาที่พบว่าเป็นโรคนี้มีหลายชนิด เช่น ปลาดุก ช่อน กะพงขาว ใน ตะเพียน ทรงเครื่อง สวาย เป็นต้น ควรรีบ ทำการรักษาโรคนี้ตั้งแต่ปลาเริ่มเป็นโรคในระยะแรก ๆ จะได้ผลดีกว่าเมื่อปลา ติดโรคแบบเรื้อรังแล้ว

การปัองกันและรักษา
การป้องกันจะดีกว่าการรักษา เพราะปรสิตชนิดนี้แพร่ได้รวดเร็วและ ทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาอันสั้น การป้องกันทำได์โดยการตรวจปลาก่อนที่ จะนำมาเลี้ยงว่ามีปรสิตนี้ติดมาด้วยหรือไม่ ระวังการติดต่อระหว่างบ่อผ่านทาง อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน ควรขังปลาไว้ประมาณ 2-3 วัน เมื่อตรวจจนแน่ใจว่าไม่มี โรคแล้วจึงค่อยปล่อยลงเลี้ยง แต่ถ้ามีปรสิตเกิดขึ้น กำจัดได์โดยการใช้ยาหรือสาร เคมี คือ
1 . ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชม. หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชม.

Go To Top


โรคตกเลือดตามซอกเกล็ด

อาการของโรคนี้คือ ปลาจะมีแผลเปิดสีแดงเป็นจ้ำ ๆ ตามลำตัว โดยเฉพาะ ที่ครีบและซอกเกล็ด มักพบในปลามีเกล็ดเป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นเผลเรื้อรังอาจมี อาการเกล็ดหลุดตามมาด้วยบริเวณรอบ ๆ และด้านบนของแผลจะมีส่วนที่คล้าย สำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่ โรคนี้เกิดจากเชื้อปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรือกระจุก พบมากในปลาแฟนซีคาร์ฟ แรด และช่อน ฯล



การปัองกันและรักษา
1. ใช้เกลือเม็ด จำนวน 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 48 ชม.
2. ใช้ฟอร์มาลินจำนวน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 48 ชม. หลังจากแช่ยาแล้วถ้าปลายังมีอาการไม่ดีขึ้นควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วันก่อน จากนั้นใส่ยาซ้ำได้อีก 1- 2 ครั้ง ถ้ารักษาถูกโรคปลาควรจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 - 3 วัน หลังจากการรักษา

Go To Top


โรคพยาธิปลิงใส

ปลาที่มีพยาธิปลิงใสเกาะจะมีอาการว่ายน้ำทุรุนทุราย ลอยตัวดามผิวน้ำ ผอม กระพุ้งแก้มเปิดปิดเร็วกว่าปกติ อาจมีแผลขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุดกระจาย อยู่ทั่วลำตัว ถ้าเป็นการติดโรคในขั้นรุนแรงอาจมองเห็นเหมือนกับว่าปลามีขนสีขาว สั้น ๆ อยู่ตามลำตัว ซึ่งจะทำให้ปลาตายได้ ปลาเกือบทุกชนิดพบว่าเป็นโรคนี้ได้ ทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกปลาดุกที่เริ่มปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดินใหม่ ๆ ควรระวัง โรคนี้ด้วยถ้าพบการติดเชื้อพยาธิชนิดนี้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก็สามารถรักษาให้หาย ได้ไม่ยาก

การปัองกันและรักษา
1. ใช้ฟอร์มาลิน จำนวน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชม.
2. ใช้ดิพเทอร์เร็กซ์ จำนวน 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชม.

Go To Top


โรคเมือกขุ่น

อาการของโรคนี้คือปลาจะมีเมือกสีขาวขุ่นปกคลุมลำตัวเป็นหย่อม ๆ หรือ ขับเมือกออกมามากจนกระทั่งได้กลิ่นคาว ครีบหุบ ว่ายน้ำกระเลือกกระสน บางครั้ง จะลอยอยู่ตามผิวน้ำ สาเหตุของโรคนี้คือการติดเชื้อปรสิตเซลล์เดียวจำพวก คอสเตีย ซิโลโตเนลล่า และโบโดโมแนส ปลาที่พบว่าเป็นโรคนี้มีหลายชนิด ได้แก่ ปลาเงิน ปลาทอง ดุก ช่อน ฯล


การปัองกันและรักษา
1. ใช้ฟอร์มาลิน จำนวน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 48 ชม.
2. ด่างทับทิม จำนวน 1 -3 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชม.
3. เกลือเม็ด จำนวน 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 48 ชม.

Go To Top


โรคจากเชื้อสปอร์โรซัว

โรคนี้จะทำให้ปลาเป็นแผลซ้ำบริเวณลำตัว หรือมีตุ่มสีขาวขุ่นอมเหลืองอ่อน ดล้ายเม็ดสาคูเล็ก ๆ อยู่บริเวณกล้ามเนื้อลำตัว เหงือก และอวัยวะภายใน ถ้ามี การติดเชื้อโรคระยะไม่รุนแรงมากจะทำให้ปลาตาย แต่ถ้ามีการติดโรคนี้ที่เหงือก เป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้ปลาหายใจไม่สะดวกและตายได้โดยเฉพาะกับปลาขนาด เล็ก ปลาที่มีรายงานว่าเป็นโรคนี้ได้แก่ ปลาบู่ กระดี่ หมอไทย กะพงขาว ฯล

การปัองกันและรักษา
เนื่องจากเป็นปรสิตชนิดที่ฝังตัวเข้าไปอยู่ใต้ผิวหนัง ดังนั้นจึงไม่สามารถ ใช้สารเคมีกำจัดได้ สำหรับสปอร์ที่หลุดออกจากเกราะแล้วอาจจะกำจัดได้โดย ใช้สารเคมีชนิดเดียวกับที่ใช้ในการรักษาโรคจุดขาว ส่วนบ่อหรือตู้กระจกหลังจาก จับปลาขึ้นหมดแล้ว ควรใส่ฟอร์มาลินเข้มขัน 250 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตรลงไป แล้ว ทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน จึงถ่ายน้ำออกตากบ่อ หรือตู้กระจกใหัแหัง จะช่วยกำจัด ปรสิตที่หลงเหลืออยู่ได้หมด

Go To Top


โรคหูดเม็ดข้าวสาร

ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีตุ่มสีขาวขุ่นอยู่ตามลำตัวลักษณะคล้ายเม็ดข้าวสาร มักพบในกรณีที่มีการปล่อยปลาเลี้ยงอย่างหนาแน่น และการถ่ายเทน้ำไม่สะดวก ปลาจะมีอาการผอมไม่กินอาหาร และทยอยตาย สาเหตุของโรคนี้เกิดจากเชื้อ สปอร์โรชัวขนาดเล็ก ขนิดของปลาที่มีรายงานว่าเป็นโรดนี้ ได้แก่ ปลาดุก สวาย



การปัองกันและรักษา
1 . อย่าปล่อยปลาแน่นเกินไป และควรทำการถ่ายเทน้ำให้กับบ่อปลา อย่างสม่ำเสมอ
2. ถ้าพบปลาเป็นโรคควรเผาหรือฝังเสีย เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และเมื่อปลาเป็นโรคแล้วไม่มีทางรักษา
3. ถ้านำปลาที่เป็นโรคในขั้นไม่รุนแรงมากมาเลี้ยงในที่ที่มีน้ำถ่ายเทสะดวก และในอัตราที่ไม่หนาแน่นมากปลาก็อาจจะหายจากโรคได้เองบางส่วน

Go To Top


โรคจากเชื้อรา

โดยทั่วไปโรดทื่เกิดจากเชื้อรามักจะเกิดร่วมกับโรดอื่น ๆ หลังจากที่ปลา เกิดเป็นแผลแบบเรื้อรังแล้วมักพบเชื้อราเข้ามาร่วมทำให้แผลลุกลามไป โดยจะเห็น บริเวณแผลมีเชื้อราเกิดเป็นปุยขาวๆ ปนเทาคล้ายสำลีปกดลุมจอยู่ ในการเพาะปลา ถ้าหากมีไข่เสียมากก็จะพบราเข้าเกาะกินไข่เสียเหล่านั้นก่อน และลุกลามไปทำลาย ไข่ดีต่อไป ถ้าหากไม่ได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที

การปัองกันและรักษา
1 . สำหรับปลาป่วยในโรงเพาะปักใช้มาลาได้ท์กรีน จำนวน 0.1- 0.15 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชม.
2. กรณีของปลาป่วยในบ่อดินมักพบต้นเหตุทื่ทำให้ปลาป่วยเป็นเชื้อรา เนื่องมาจากคุณภาพของน้ำในบ่อไม่ดี ให้ปรับด้วยปูนทวในอัตรา 60 กิโลกรัม/ไร่

Go To Top


โรคเท็บปลา

ปลาที่เป็นโรดนี้เราจะสังเกตุเห็นได้ว่ามีพยาธิรูปร่างกลม ๆ สีเขียวปนน้ำตาลขนาด ประมาณ5 - 7 มิลลิเมตร เกาะอยู่ตามล๋าตัว หัว และครีบ มักพบเกิดกับปลามีเกล็ดเช่น ปลาช่อน แรด นิล ไน ตะเพียน เป็นต้น ในปลาที่มีการติดโรคนี้เป็นเวลานาน จะมีแผลตก เลือดเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วตัว ปลาจะว่ายน้ำทุรนทุราย และพยายามถูตัวเองกับข้างบ่อหรือตู้ เพื่อให้พยาธิหลุด

การปัองกันและรักษา
1. แช่ปลาที่มีพยาธินี้ในสารละลายยาฆ่าแมลงจำพวกดิพเทอเร็กซ์ (Diptercx) ในอัตราส่วน 0.5-0.75 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง
2. แช่ปลาในสารละลายด่างทับทิม (โปแคลเซียมเปอแมงกาเนต) ใน อัตราส่วน 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร นานประมาณ 15-30 นาที แล้วจึงจะย้ายปลา ไปใส่ในน้ำสะอาด
3. กำจัดเห็บปลาออกโดยการจับออกด้วยปากคีบ หากพยาธิชนิดนี้เกาะ แน่นเกินไปให้หยดน้ำเกลือเข้มขันประมาณ 1- 2 หยด ลงบนตัวพยาธิแลัวจึงใช้ปาก คีบดีงออก พยาธิจะหลุดออกโดยง่า
4. การกำจัดเห็บปลาที่เกิดขึ้นในบ่อ ทำได้โดยการตากบ่อให้แห้งแล้ว โรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ

Go To Top


โรคหนอนสมอ

เป็นพยาธิที่พบเสมอในปลาน้ำจืด หนอนสมอตัวเมียมักพบเกาะอยู่ตาม ผิวหนังของปลาโดยเฉพาะบริเวณโคนครีบ ตัวเมียที่โตเต็มวัย มีลักษณะลำตัว ยาวคล้ายหนอน ที่ส่วนหัวมีอวัยวะสำหรับยืดเกาะกับผิวหนังปลาซื่งมีรูปร่างคล้าย สมอเรือ เราจะเห็นเฉพาะส่วนลำตัวที่มีลักษณะคล้ายหนอนซึ่งตอนปลายมีถุงไข่อยู่ 1 คู่โผล่ออกมาจากผิวหนังของปลา ส่วนที่เป็นอวัยวะยืดเกาะคล้ายสมอจะแตกแขนง และแทงทะลุลงไปใต้ผิวหนังลึกถืงชั้นกล้ามเนื้อ พยาธิชนิดนี้จะดูดกินเนื้อเยื่อของ ปลาทำใหัเกิดเป็นแผลขนาดใหญ่ได้ ปลาที่มีหนอนสมอเกาะอยู่มักมีแผลตกเลือด เต็มตัว และมีอาการระคายเคือง ปลาที่เป็นโรดมักผอมลงจนผิดปกติ ถ้าเกิดโรคนี้ ในปลาขนาดเล็กอาจทำให้ปลาตายได้ ปลาที่เป็นโรคนี้มีหลายชนิด ได้แก่ ปลาแรด กะพงขาว บู่ ตะเพียนขาว ปลาคาร์ฟ ปลาซ่ง ปลาทอง ปลามิดไนท์ เป็นต้น

การปัองกันและรักษา
1. ควรย้ายปลาที่มีหนอนสมอเกาะอยู่ไปไว้ในถังอื่นประมาณ 3- 4 อาทิตย์ ทั้งนี้เพื่อกันไม่ให้ตัวอ่อนของหนอนสมอที่เพิ่งออกเป็นตัวมีที่ยืดเกาะก็จะทำให้มัน ตายไปเองไค้
2. แช่ปลาที่มีพยาธิในสารละลายดิพเทอเร็กซ์ ในอัตราส่วน 0.5 กรัม ต่อนำ 1,000 ลิตร แช่นานประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วเปลื่ยนน้ำ เว้นระยะไป 5-7 วัน จึงทำการแช่ยาซ้ำอีก 2-3 ครั้ง
3. การกำจัดหนอนสมอในบ่อทื่ใม่มีปลาอยู่แลัว สามารถกำจัดให้หมด ไปได้โดยการละลายดิพเทอเร็กซ์ 2 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แล้วสาดลงไปในบ่อ ให้ทั่วทิ้งไว้ 1-2 อาทิตย์ แลัวจึงนำปลากลับมาเลื้ยงตามเดิมได้

Go To Top


โรคหมัดปลา

ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีอาการว่ายน้ำทุรนทุรายและพยายามเสียดสีลำตัว กับข้างบ่อ กระโดดขึ้นลงจากผิวน้ำ ถ้าสังเกตจะเห็นหมัดปลาที่มีลำตัวยาวรีเป็น ปล้อง ๆ สีแดงเข้มเกือบดำเกาะอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของตัวปลา พยาธิชนิดนี้จะไม่ เกาะอยู่บนตัวปลาแบบถาวร มันจะดูดเลือดปลากินเป็นอาหารแล้วทิ้งตัวลงไปอยู่ที่ พื้นก้นบ่อ เมื่ออาหารย่อยหมดแล้วก็จะกลับมาเกาะตัวปลาใหม่ ปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ถ้ามีหมัดปลาเข้าเกาะ 3-4 ตัวก็จะทำให้ปลาตายได้ภายในเวลา 3-4 ชั่วโมง ปลาที่ตายจะมีเหงือกสีซีดมาก ปลาที่พบว่าเป็นโรดนี้ได้แก่ ปลาสวาย บึก นิล เป็นต้น

การปัองกันและรักษา
1. ถ้าเป็นปลาที่เลื้ยงในกระชังทำการรักษาได้ยาก ควรนำปลาขึ้นมา พักในบ่อดินแล้วทำการรักษาตามข้อ 2
2. ถ้าเป็นกับปลาในบ่อเลี้ยง ใช้ดิพเทอเร็กซ์ จำนวน 0.25-0.5 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่สัปดาห์ละครั้งติดต่อกัน 3-4 สัปดาห์ โดยควรทำmรถ่ายน้ำบางส่วน ก่อนแช่ดิพเทอร์เร็กช์ ครั้งต่อไป

Go To Top