การเกิดไขมันพอกตามอวัยวะภายใน การขาดวิตามิน
โรคฟองอากาศ การป้องกันและรักษา
วิธีการใช้ยา ข้อควรระวังในการใช้ยา
ตัวอย่างการคำนวณปริมาตรน้ำในบ่อสี่เหลี่ยม ตัวอย่างการคำนวณปริมาตรน้ำในบ่อกลม


การเกิดไขมันพอกตามอวัยวะภายใน

ปลาที่เลี้ยงในตู้ส่วนมากมักจะว่ายน้ำในที่แคบหรือเคลื่อนไหวน้อยประกอบ กับการให้อาหารมากเกินความต้องการทำให้เกิดมีไขมันพอกสะสมตามอวัยวะ ภายในต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผนังยึดลำไส้ รังไข่ และตับปลาที่เกิดเป็นโรค ไขมันอุดตันที่ตับจะทำให้ตับทำงานไม่เป็นปกติ นอกจากนี้ยังทำให้ติดโรคได้ง่าย ปลาที่อ้วนเกินไปก็ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพราะอวัยวะสืบพันธุ์ ทำหน้าที่ไม่ได้เต็มที่เนื่องจากมีไขมันสะสมอยู่ โรดนี้จะป้องกันได้โดยการให้อาหาร ที่มีคุณค่าในปริมาณที่เหมาะสม ลดปริมาณไขมันเละคาร์โบไฮเดรต (แปัง) ลงจาก สูตรอาหาร

Go To Top


การขาดวิตามิน

อาหารปลาควรประกอบไปด้วยอาหารที่มีชีวิต เช่น พวกไรน้ำ หนอนแดง ตลอดจนพวกสาหร่ายและพืขต่าง ๆ เพื่อที่ปลาจะได้รับอาหารที่มีคุณค่าพร้อม การขาดวิตามินอาจส่งผลกระทบต่อการสลายตัวของโปรตีน เช่น mรขาดวิตามินเอ นอกจากนี้อาจจะส่งผลกระทบถึงการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบประสาท และทำให้การเจริญช้าลง การขาดวิตามินบีหนึ่ง หรือวิตามินบีรวมอาจทำให้ภูมิต้านทานโรค ในปลาลดลงและอาจก่อให้เกิดอาการอื่น ๆ ด้วย การขาดวิตามินซี เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบเสมอ ในการเลี้ยงปลาดุก โดยปลาจะมีอาการหัวแตก และหนวดกุด วิธีแก้ไขทำได้โดยการผสมวิตามินซี ในอาหารในอัตรา 1 กรัมต่ออาหาร 1 กก.

Go To Top


โรคฟองอากาศ

โรคนี้มักจะเกิดขึ้นในขณะที่น้ำมีไนโตรเจน หรือออกซิเจนละลายอยู่เกิน จุดอิ่มตัวแล้วเกิดลดความดันอย่างกระทันหัน ก๊าซในเส้นเลือดของปลาโดยเฉพาะ ไนโตรเจนจะถูกปล่อยออกมาเป็นฟองอากาศอย่างรวดเร็ว เพื่อปรับความดันใน เลือดให้ลดต่ำลงเช่นกัน จึงเกิดเป็นฟองอากาศขึ้นในลูกปลาวัยอ่อนฟองอากาศ จะเกิดตามบริเวณใต้ผิวหนังและที่ถุงอาหาร ส่วนในปลาที่โตเต็มวัยนั้นจะเกิดตาม บริเวณตา ผิว เหงือก และที่ปาก

Go To Top

การป้องกันและรักษา

แยกปลาที่เป็นโรคนี้ออกเลี้ยงในบ่ออื่น การป้องกันอาจทำได้โดยการพ่น อากาศในบ่อพักน้ำก่อนที่จะนำมาเปลี่ยนถ่าย เพื่อลดความดันก๊าซลงก่อน ถ้าใน ตู้ปลาที่มีพืชน้ำก็ควรระวังไม่ให้พืชน้ำได้รับแสงแดดมากเกินไป การที่อุณหภูมิ ของน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอาจเป็นเหตุให้ความดันของก๊าซในน้ำลดลงด้วย ดังนั้นจึงควรระวังไม่ให้อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหันเพื่อป้องกัน โรคฟองอากาศในปลา

Go To Top


วิธีการใช้ยา

ชื่อยา วิธีการใช้ยา ความเข้มข้น เวลาที่ใช้
ฟอร์มาลีน ละลายน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ 25-50 ซีซี/น้ำ 1,000 ลิตร 24 ช.ม.
ละลายน้ำในภาชนะ 200-250 ซีซี/น้ำ 1,000 ลิตร 15-20 นาที
ดิพเทอร์เร็กซ์ ละลายน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ 0.25-0.5 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร 24 ช.ม. หรือตลอดไป
เกลือ ละลายน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ 3-5 กิโลกรัม/น้ำ 1,000 ลิตร ตลอดไป
มาลาไคท์กรีน ละลายน้ำแล้วสาดทั่วบ่อ 0.1-0.15 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร 24 ช.ม.
โบรเมคซ์ ละลายน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ 0.12 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร 24 ช.ม. หรือตลอดไป
เมททิลีนบลู ละลายน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ 1-2 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร ตลอดไป
ด่างทับทิม ละลายน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ 2-3 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร ตลอดไป
ออกซีตร้าซัยคลีน หรือ เตตร้าซัยคลีน ละลายน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ 1-2 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร ตลอดไป
หรือละลายน้ำถ้าใช้กับปลาตู้ 10-20 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร 1-2 วัน
ไนโตรฟูราโซน ละลายน้ำแล้วแช่ปลาที่อยู่ 1-2 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร 2-3 วัน


Go To Top


ข้อควรระวังในการใช้ยา

ฟอร์มาลีน
ดวรใช้ในบ่อที่มีน้ าไม่เขียวจัด และควรใส่ยาชนิดนื้ตอนเช้าจะดีกว่า ตอนเย็น ถ้าจำเป็นต้องใชัฟอร์มาลินในบ่อที่มีน้ำเขียวจัด ดวรถ่ายน้ำออกจาก พื้นบ่อ ประมาณหนึ่งในสามของระดับน้ำลึก เติมน้ำใหม่แล้วจึงใส่ยา เนื่องจาก ฟอร์มาลินจะทำให้พืชน้ำเล็ก ๆ ตาย อาจทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในบ่อได้ อย่างเฉียบพลัน

เกลือ
การใช้เกลือจะต้องระวังเกี่ยวกับความเค็มที่จะเพิ่มขี้นอย่างทันที ปลาอาจจะปรับตัวไม่ทัน ทั้งนี้เมื่อคำนวณได้ว่าจะต้องใช้เกลือเท่าใดแล้ว ให้แบ่งเกลือนั้นออกเป็น 3 ส่วน แล้วเริ่มใส่เกลือส่วนแรกลงในบ่อหรือตู้ปลารอดูอาการปลาสักประมาณ 1 ชั่วโมง จึงใส่ส่วนที่ 2 และ 3 ตามลำดับ

เมททิลีนบลู และด่างทับทิม
ควรใช้กับปลาที่อยู่ในตู้กระจก หรือบ่อปูนเท่านั้น

มาลาไค้ท์กรีน
เป็นสารเคมีที่อาจกระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้ จึงควรระวังอย่าสัมผัส กับยาชนิดนี้ และไม่ดวรใชักับปลาที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารของคน

Go To Top


ตัวอย่างการคำนวณปริมาตรน้ำในบ่อสี่เหลี่ยม

ถ้าบ่อมีขนาด กว้าง 1.5 เมตร ยาว 2 เมตร ระดับน้ำลึก 0.5 เมตร
สูตร ปริมาตรน้ำ = กว้าง x ยาว x ความลึกของน้ำ ( หน่วยวัดเป็นเมตร)
การคำนวณ = 1.5 x 2 x 0.5
= 1.5 ลูกบาศก์เมตร ( หรือ 1.5 คิว)
ดังนั้นบ่อนี้ถ้าต้องการใช้ฟอร์มาลิน จะใช้ = 1.5 x 25 ชีซี (ปริมาตรของน้ำ x จำนวน ซีซีของยาที่ตัองการจะใช้ ) = 37.5 ซีซี ถ้าต้องการใช้ออกซีเตตร้าชัยคลีนจะใช้ = 1.5 x 10 มิลลิกรัม (ปริมาตรของน้ำ x จ๋านวนน้ำหนักของยาที่ต้องการใช้ = 15 มิลลิกรัม

Go To Top


ตัวอย่างการคำนวณปริมาตรน้ำในบ่อกลม

ถ้าบ่อมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร (รัศมี = ระดับน้ำลึก 0.5 เมตร)
สูตร ปริมาตรน้ำ = 22/7 X รัศมีของบ่อ2 X ความลึกของน้ำ
การคำนวณ = 22/7 X 12 X 0.5
= 1.57 ลูกบาศก์เมตร (หรือประมาณ 1.5 คิว)

Go To Top