การขาดออกซิเจนในบ่อเลี้ยง ความเป็นกรดด่างของน้ำ (pH) สารพิษในน้ำ
ปริมาณคลอรีนในน้ำ ปริมาณโลหะหนักในน้ำ อุณภูมิที่ผิดปกติ


การขาดออกซิเจนในบ่อเลี้ยง

ปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอมักจะว่ายน้ำเร็วกว่า ปกติ กระวนกระวายพยายามกระโดดออกมาจากบ่อหรืออาจว่ายอยู่บริเวณใกล้ ผิวน้ำและโผล่ส่วนปากขึ้นมาเหนือน้ำ เพื่อฮุบอากาศ

การขาดออกซิเจนในน้ำในบ่อเลี้ยงมักเกิดจากการเปลี่ยนน้ำไม่ดีพอหรือ ให้อาหารมากเกินไป อาหารที่เหลือจะเกิดการเน่าเปื่อย และใช้ออกซิเจนมากทำให้ ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง นอกจากนี้การที่น้ำมีอุณหภูมิสูงจะมีผลช่วยเร่ง ปฎิกริยาการเน่าเปื่อยของอาหารทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงอีกด้วย การใช้ สารเคมีบางชนิดเพื่อรักษาโรค ก็อาจทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนได้ เช่น ฟอร์มาลิน ด่างทับทิม เป็นต้น

การป้องกันการขาดออกซิเจนในบ่อเลี้ยงทำได้โดยการดูแลความสะอาด ของบ่อ มีระบบการให้อากาศที่ดีและมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำอยู่เสมอ โดยดูดน้ำจาก ก้นบ่อออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ควรเลี้ยงปลาในปริมาณทื่ไม่แน่น จนเกินควร

Go To Top


ความเป็นกรดด่างของน้ำ (pH)

การเป็นกรดหรือด่างนั้นวัดด้วยค่า pH (พีเอช) ถ้า pH ต่ำแสดงว่าน้ำ มีสภาพป็นกรด ถ้า pH เท่ากับ 7 แสดงว่าเป็นกลาง และถ้า pH สูงกว่า 7 แสดงว่า เป็นด่าง

ปลาแต่ละชนิดจะมีความทนทานต่อความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำได้ต่างกัน ปลาบางชนิดสามารถอยู่ได้ในน้ำที่เป็นกรดอ่อน แต่ส่วนมากปลาจะชอบน้ำที่เป็น กลางหรือด่างอ่อนๆ หากน้ำมีสภาพเป็นกรดมากเกินไปจะทำให้ปลามีผิวหนังซีด หรือขุ่นขาวได้ ปลาจะว่ายน้ำไปมาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้จะพยายามฮุบอากาศ และกระโดดออกจากบ่อ ท้ายที่สุดปลาอาจตายได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบสภาพ ความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำอยู่เสมอการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของน้ำอาจ ทำได้โดยใช้ปูนขาว ถ้าน้ำมีสภาพเป็นด่างมาก (ค่า pH 8-9 หรือสูงกว่า) จะทำให้ ครีบปลากร่อนและเกิดอาการระคายเคืองที่บริเวณเหงือก การป้องกันไม่ให้ pH ของน้ำสูงเกินไปทำได้โดยการควบคุมไม่ให้สีของน้ำในบ่อเขียวจัดจนเกินไป การที่ น้ำสีเขียวจัดแสดงว่ามีการให้อาหารมากเกินไป และประกอบกับก้นบ่อไม่สะอาด ควรจะทำการถ่ายน้ำออกบางส่วนแล้วเติมปูนขาวในอัตรา 50-60 กิโลกรัมต่อ เนื้อที่บ่อ 1 ไร่ ขณะเดียวกันก็ควบดุมปริมาณการให้อาหารด้วย และไม่ควรเลี้ยง ปลาหนาแน่นจนเกินไป

Go To Top


สารพิษในน้ำ

บ่อหรือตู้เลี้ยงปลาอาจมีสารพิษปะปนอยู่ในน้ำ อุปกรณ์ที่ใช้กับตู้ปลา หลายชนิดที่มีส่วนประกอบเป็นพวกสารมีพิษอยู่ด้วย เช่น ท่อยางฉาบสีต่าง ๆ กาว สำหรับทางขอบตู้ปลา ซีเมนต์หรือสีชนิดต่าง ๆ ในบ่อเลี้ยงปลาอาจมีสารพิษจำพวก ยาฆ่าแมลง เช่น ดีดีที หรือสารมลพิษจากโรงงานต่าง ๆ ปะปนได้ ปลาจะดูดซึม สารพิษเหล่านี้เข้าไปในตัวโดยผ่านทางเหงือกและทางผิวหนัง นอกจากนี้ในบ่อเลี้ยง อาจเกิดพวกสารประกอบจำพวกไนไตรท์และแอมโนเนียซื่งเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การเน่าเปื่อยของอาหารหรือการสะสมของของเสียด่าง ๆ ภายในบ่อ

การป้องกันทำได้โดยพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งที่คาดว่าจะนำสารพิษ มาสู่บ่อปลา และควรเลือกแหล่งน้ำที่จะนำมาใช้ในการเลี้ยงปลาจากแหล่งที่ปลอด จากสารพิษจากโรงงานการเกษตร และบ้านเรือน

Go To Top


ปริมาณคลอรีนในน้ำ

ถ้าน้ำมีปริมาณคลอรีนอยู่เกินกว่า 4 มิลลิกรัม/ลิตร จะเป็นอันตราย ต่อปลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลูกปลา สารคลอรีนนี้จะไปรบกวนระบบการแลก เปลี่ยนแร่ธาตุและออกซิเจนที่เหงือกของปลา ทำให้ปลามีอาการช็อก ดิ้นทุรนทุราย และตายในที่สุดโดยทั่วไปน้ำประปามีปริมาณคลอรีน 1 -2 มิลลิกรัม/ลิตร ดังนั้น ก่อนที่จะนำมาใช้เลี้ยงปลาจึงควรตั้งทิ้งไว้นานประมาณ 2 วัน กลางแจ้งและใส่ แอร์ปั้มด้วย เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไปเสียก่อนจะนำมาใช้ถ้ามีความจำเป็นต้อง รีบใช้น้ำที่มีคลอรีนโดยรีบด่วน อาจใช้โซเดียมไทโอซัลเฟต ซึ่งมีลักษณะเป็นผลึก ใส ๆ ใส่ลงในน้ำในอัตรา 3-5 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร ก่อนก็จะช่วยกำจัดคลอรีนได้

Go To Top


ปริมาณโลหะหนักในน้ำ

ความเป็นพิษของโลหะหนักในน้ำที่มีต่อปลานั้นจะขี้นกับปริมาณแคลเซียม ในน้ำและะความเป็นกรด-ด่างของน้ำในบ่อเลี้ยง เช่น ความเป็นพิษของโลหะทองแดง จะเพิ่มขึ้นในสภาพน้ำเป็นกรด และมีปริมาณแคลเซียมละลายอยู่น้อย สังกะสีอาจ แปรรูปเป็นสังกะสีคลอไรด์ที่เป็นพิษได้ถัาในน้ำนั้นมีเกลือละลายอยู่ด้วย ตะกั่วที่พบ อยู่ในน้ำทะเลทั่วไปจะไม่เป็นอันตรายต่อปลาเท่ากับตะกั่วที่อยู่ในน้ำที่มีสภาพเป็น กรดอ่อน ๆ ซึ่งจะทำให้ดวามเป็นพิษของตะกั่วเพิ่มขี้นการตรวจสอบความเป็นพิษ ของโลหะหนักในบ่อเลี้ยงและตู้ปลานั้นทำได้ยากดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรฉาบ ผนังของตู้ปลาส่วนที่เป็นโลหะด้วยสารเคลือบที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้โลหะ ละลายไปในน้ำได้

Go To Top


อุณภูมิที่ผิดปกติ

ถ้าอุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหันอาจทำให้ปลาตายได้ โดย ทั่วไปถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอยู่ในระหว่าง 1-2 องศาเซลเซียส ปลาส่วนใหญ่ จะปรับตัวทัน แต่ก็มีปลาหลายชนิดที่ไม่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงถึงขนาด นั้นได้ ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เกิดขึ้นเสมอ คือการขนถ่ายปลาจาก บ่อหนึ่งไปยังอีกบ่อหนึ่ง ดังนั้นจึงควรระมัดระวังให้มากในช่วงการขนถ่ายดังกล่าว ถ้าปลาเกิดการช็อกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างกระทันหันมักทำให้ ปลานั้นอ่อนแอลงและติดเชื้อได้ง่าย ปลาที่อยู่ใกล้ในน้ำที่เย็นมากหรือมีอุณหภูมิ ต่ำผิดปกติจะมีลักษณะผิวหนังซีดและเกิดการติดเชื้อราได้ง่า

Go To Top