สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน
เนื่องมาจากน้ำฝนที่ไหลบ่าจะกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน
ซึ่งมีธาตุอาหารพืชและปุ๋ยสูญเสียไปทำให้การเพาะปลูกได้รับ
ผลผลิตต่ำ และถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยมิได้ทำการป้องกันแก้ไข
หน้าดินก็จะถูกชะล้างพัดพาไปจนหมด จนไม่สามารถทำการ
เกษตรได้อีกต่อไป
การจัดระบบการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนว
ระดับขวางความลาดเทของพื้นที่ จัดได้ว่าเป็นวิธีป้องกัน และ
แก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นวิธีง่าย ๆ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเกษตรกรสามารถทำ
ได้ด้วยตนเอง
การชะล้างพังทลายของดิน
หญ้าแฝก เป็นหญ้าที่ทนทาน ปลูกง่าย ขึ้นได้ดีทั้งในดินดี
และดินเลว แม้กระทั่งในดินที่เป็นดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินด่าง ดินทราย
หรือดินปนลูกรัง เป็นต้น หญ้าแฝกมีลักษณะขึ้นเป็นกอ โคนกออัด
กันแน่น มีการเจริญเติบโตจากกอเล็กเป็นกอใหญ่โดยการแตกหน่อ
เส้นผ่าศูนย์กลางกอประมาณ 30 เซนติเมตร
จากลักษณะการเจริเติบโตของหญ้าแฝกดังกล่าว เมื่อนำ
มาปลูกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทของพื้นที่แล้วหญ้าแฝก
จะแตกหน่อเจริญเติบโตชิดติดกันจนมีลักษณะเสมือนมีรั้ว หรือ
กำแพงที่มีชีวิตกั้นขวางทิศทางน้ำที่ไหลบ่า รั้วหญ้าแฝกจะทำหน้าที่
ชะลอความเร็ว ลดความรุนแรงของการไหลบ่าและน้ำจะกระจายตัวออก
ไปตามแนวรั้วหญ้าแฝก ทิ้งตะกอนดินและโคลนตมที่พัดพามาไว้
ก่อนน้ำจะไหลผ่านแนวรั้วหญ้าแฝกไปน้ำส่วนใหญ่ก็จะซึมลงไปในดิน
ทำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่ได้ยาวนานเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกในพื้นที่
นอกจากนี้ หญ้าแฝกยังมีระบบรากที่แข็งแรงหยั่งลึกลงไปใน
ดินตามแนวดิ่ง สานกันอย่างหนาแน่นมากกว่าที่จะแผ่ขยายในแนวกว้าง
การที่รากสานกันแน่นและหยั่งลึกก็เปรียบเสมือนมีกำแพงใต้ดิน ซึ่ง
นอกจากจะช่วยในการดูดซับน้ำและกักน้ำไว้ในดินแล้ว รากหญ้าแฝก
ยังจะช่วยยึดเกาะดิน ป้องกันการสูญเสียดินที่เกิดจากการกัดเซาะ
ของน้ำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
รากหญ้าแฝก แนวรั้วหญ้าแฝก
วิธีการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้าง
พังทลายของดิน มีขั้นตอนการดำเนินการดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพันธุ์หญ้าแฝก
ขั้นตอนที่ 2 วิธีการวางแนวปลูกหญ้าแฝกขวางความลาดเทของพื้นที่
ขั้นตอนที่ 3 การเตรียมดินปลูกหญ้าแฝก
ขั้นตอนที่ 4 การปลูกหญ้าแฝกขวางความลาดเท
ขั้นตอนที่ 5 การดูแลรักษา