กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชยืนต้น อายุประมาณ 1 ปี มีความสูง 40 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร ลำต้นมีขนสั้น ๆ มีหลายสีแตกต่างตามพันธุ์ ใบมีลักษณะกว้าง เป็นแฉกคล้ายใบละหุ่ง แต่ก้านใบจะสั้นกว่า ดอกสีสีเหลืองโคนดอกด้านในสีม่วง เมื่อบานคล้ายดอกฝ้าย ฝักมีรูปเรียวยาว ปลายฝักแหลม มีทั้งชนิดฝักกลมและฝักเหลี่ยม 5-10 เหลี่ยม ขึ้นกับพันธุ์สีฝักมีตั้งแต่เขียวแก่ เขียวอ่อน เขียวเหลือบแดง ไปจนถึงสีม่วงแดง เมล็ดมีลักษณะกลมรี ขนาดเดียวกับถั่วเขียว เมล็ดอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่มีสีเขียวอมเทา กระเจี๊ยบเขียวสามารถปลูกได้ตลอดปีในประเทศไทย และเจริญเติบโตในดินทุกชนิดเหมาะที่จะปลูกเป็นพืชผักสวนครัวชนิดหนึ่ง


กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชผักที่เราใช้ฝักอ่อนเป็นอาหาร เมื่ออายุได้ 40 วัน จะเริ่มออกดอก หลังดอกบาน 5 วันฝักจะยาว 4-9 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่เก็บเกี่ยวมาบริโภคได้แล้ว และจะมีคุณภาพดี คือ อ่อน ไม่มีเส้นใย การเก็บเกี่ยวฝักใช้มีดตัดขั้วออกอย่างระมัดระวัง เพราะฝักช้ำง่ายมาก การปลูกเป็นผักสวนครัวที่บ้านควรตัดฝักรับประทานทุกวัน ไม่ให้มีฝักแก่บนต้น ซึ่งจะต้องส่งอาหารมาเลี้ยงทำให้ออกฝักน้อยลง
ฝักกระเจี๊ยบเขียวที่เก็บมาแล้ว ควรนำไปบริโภคทันที ในการเก็บรักษา เมื่อเก็บฝึกมาแล้ว ควรล้างและแช่ในน้ำให้ฝักกระเจี๊ยบเย็น แล้วเก็บรักษาในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 7-10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% จะเก็บรักษาได้ 3-10 วัน
กระเจี๊ยบเขียวเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะวิตามินเอ และแคลเซียม ดังนี้

คุณค่าทางอาหารของกระเจี๊ยบเขียวในส่วนที่บริโภคได้ 100 กรัม
คุณค่าทางอาหาร
น้ำ
พลังงาน
โปรตีน
ไขมัน
คาร์โบไฮเดร
เส้นใย
แคลเซียม
ฟอสฟอรัส
เหล็ก
โปแตสเซียม
ไวตามิน เอ
ไทอามีน
ไรโบฟลาวี
ไนอาซี
แอสคอมิค แอบิ
88.9%
36.0 แคลลอรี่
2.4 กรัม
0.3 กรัม
7.6 กรัม
1.0 กรัม
92.0 มิลลิกรัม
51.0 มิลลิกรัม
0.6 มิลลิกรัม
249.0 มิลลิกรัม
520.0 หน่วยสากล
0.17 มิลลิกรัม
0.18 มิลลิกรัม
1.0 มิลลิกรัม
31.0 มิลลิกรัม

กระเจี๊ยบเขียวมีสารในเชิงสมุนไพรรักษาโรค ซึ่งปรากฎสรรพคุณในตำราแพทย์แผนโบราณ และการทดลองการแพทย์แผนใหม่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในประเทศไทยมีรายงานการทดลองว่าสารสกัดจากกระเจี๊ยบเขียว ด้วยแอลกอฮอล์สามารถลำจำนวนพยาธิตัวจี๊ดในหนูถีบจักรได้ 1 ในต่างประเทศพบว่ากระเจี๊ยบเขียวรักษาโรคกระเพาะได้ดี เนื่องจากเป็นผักที่มีเมือกลื่นมาก เมือกลื่นนี้จะช่วยหล่อลื่น ฉาบ เคลือบ และบรรเทาอาการระคายเคืองของเนื้อเยื่อที่อักเสบ จึงใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดท้องได้ในรายที่เยื่อบุกระเพาะและลำไว้อักเสบ ซึ่งมีการนำมาทำเป็นยาทั้งยาผงและแคปซูล นอกจากกระเจี๊ยบเขียวจะใช้บรรเทาอาการปวดของโรคกระเพาะแล้วยังพบว่าเป็นยาระบายที่ดีอีกด้วย2 สำหรับในบ้านเราสามารถปลูกได้ตลอดปี จึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นยาผง ควรรับประทานฝักสดหรือนำมาประกอบอาหารจะดีกว่า
คนญี่ปุ่นนิยมบริโภคกระเจี๊ยบเขียวมาก โดยเฉพาะฝักสดย่างไฟจิ้มซอส สำหรับคนไทยบริโภคกระเจี๊ยบเขียวมานานแล้ว เพราะเป็นผักพื้นบ้าน แต่ในคนรุ่นใหม่ยังไม่รู้จักแพร่หลายนัก ฝักกระเจี๊ยบเขียวสามารถนำไปประกอบอาหารได้ ตั้งแต่รับประทานเป็นผักจิ้ม ชุปแป้งทอด ยำต่าง ๆ ประกอบอาหารอื่น ๆ เช่น แกงส้ม แกงเลียง แกงจืดต่าง ๆ และฝักกระเจี๊ยบเขียวตากแห้งสามารถทำชา ซึ่งมีกลิ่นหอมได้อย่างดี