จากที่นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่า ฟังก์ชัน เป็นความสัมพันธ์ซึ่งในสองคู่อันดับใดๆ ของความสัมพันธ์นั้น ถ้าสมาชิกตัวหน้าเหมือนกันแล้ว สมาชิกตัวหลังต้องไม่ต่างกัน สามารถเขียนเป็นภาษาคณิตศาสตร์ได้ดังนี้

ความสัมพันธ์ r จะเป็นฟังก์ชัน f ก็ต่อเมื่อ ถ้า (x, y) r และ (x, z) r แล้ว y = z

 

จากวิดิโอคลิปที่นักเรียนจะได้ศึกษาต่อไปนี้ จะทำให้นักเรียนเข้าใจถึงลักษณะความสัมพันธ์ที่จะเป็นฟังก์ชันว่าต้องมีลักษณะอย่างไร และจะมีวิธีการสังเกตอย่างไร

ที่มา www.youtube.com/watch?v=Ft1BFGVACRc
 

 

 
 

หลังจากที่ได้ศึกษาวีดิโอคลิปแล้ว นักเรียนลองทบทวนความรู้จากแบบฝึกหัดข้างล่างนี้

 
1. r = {(1 , 4) , (2 , 4) , (3, 5)}
เป็นฟังก์ชัน

ไม่เป็นฟังก์ชัน

2. r = {(1 , 4) , (2 , 5) , (2 , 6) , (3, 4) , (3 , 7)}
เป็นฟังก์ชัน

ไม่เป็นฟังก์ชัน

 



ถ้าความสัมพันธ์ถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขว่า
นักเรียนจะหาความสัมพันธ์ข้างต้นได้อย่างไร และความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นฟังก์ชันหรือไม่


 
ตามที่เราทราบมาแล้วว่าในการเขียนฟังก์ชันนั้น เรานิยมเขียนใน 2 แบบ คือ แบบแจกแจงสมาชิกเป็นเซต และ แบบมีเงื่อนไข ซึ่งในบางครั้งการเขียนแบบมีเงื่อนไขนั้น ฟังก์ชันอาจจะลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการเขียนฟังก์ชันนั้นโดยส่วนใหญ่เรามักจะเขียนฟังก์ชันให้อยู่ในรูปของ y ที่เป็นเทอมของ x เพื่อที่จะง่ายในการหาค่าของฟังก์ชัน นักเรียนลองศึกษา
วิดีโอคลิปต่อไปนี้ซึ่งจะนำเสนอ และแนะนำถึงการเปลี่ยนรูปฟังก์ชันพร้อมทั้งวิธีการหาค่าของฟังก์ชัน

ที่มา : http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=fUIIKro2ef0

 

จากวีดิโอคลิปที่นักเรียนได้ศึกษา นักเรียนลองทบทวนความรู้จากแบบฝึกหัดข้างล่างนี้

 

จากฟังก์ชันที่กำหนดให้ จงหาค่าของ f(x) เมื่อกำหนด x = {1, 2, 3, 4}

 

คำชี้แจง : ให้นักเรียนพิมพ์คำตอบโดยไม่ต้องเว้นวรรค

 เช่น กำหนด f(x) = 4x + 1 เมื่อ x = 1 จะได้ f(1)=4(1)+1=5

1. f(x) = 2x + 1

ถ้า x = 1
ถ้า x = 2
ถ้า x = 3
ถ้า x = 4


จากแบบฝึกหัดข้างต้น ให้นักเรียนกำหนดฟังก์ชันที่มีดีกรีมากกว่าสองมา 1 ฟังก์ชัน กำหนดโดเมน
พร้อมทั้งหาค่าของฟังก์ชัน โดยส่งมาทาง
 
| หน้าแรก | ทบทวนฟังก์ชัน | ความหมายของลำดับ | การเขียนลำดับในรูปแจงพจน์ | การหาพจน์ทั่วไปของลำดับ |